MyCafeCup Logo

Static IP Address และ DHCP

เกริ่นนำ :

หลายท่านที่มักจะสงสัยและสอบถามข้อสงสัยบางประการระหว่าง Static(Fixed) IP Address และ DHCP แตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีและเสียอย่างไรนั้น ผู้เขียนขออธิบายแบบคร่าวๆ และเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ โดยที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องรู้เรื่อง Computer และ Network มากนัก โดยสรุปสาเหตุที่ผู้เขียนอยากจะเขียนเพื่อให้เป็นประโยชน์กับ เหล่าเจ้าของร้าน, Technical และรวมไปถึงผู้สนใจต่างๆ ได้นำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งแม้ว่าผู้อ่านไม่ได้ใช้ MyCafeCup ก็ตาม มันก็จะมีประโยชน์กับระบบของคุณอยู่ดี เพราะ Network ของคุณจะมีเสถียรภาพที่ดีขึ้น

คำศัพท์ ที่ควรทราบ
Network
ระบบเครือข่าย ที่ เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายเครื่อง
LAN
(Local Area Network) ระบบเครือข่ายระยะใกล้ที่อยู่ในอาณาเขตเดียวกัน เช่น ในห้องเดียวกัน ตึกเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน วงเดียวกัน
WAN
(Wire Area Network) ระบบเครือข่ายระยะไกลเพื่อเชื่อมต่อระหว่าง LAN ตั้งแต่สองวงขึ้นไป และอยู่ต่างบริเวณสถานที่กัน โดยจำเป็นต้อง ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อพิเศษอื่นๆ เช่นโทรศัพท์ Docsis/T1/DSL/Lease Line
Gate Way (Bridge)
ประตูทางผ่านของข้อมูลระหว่างเครื่องที่อยู่ใน LAN ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อแบบ WAN
Internet
ระบบเครือข่ายแบบ WAN ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ. ปัจจุบัน และ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ โดยมีจำนวนเครื่องที่ ไม่อาจนับได้ถ้วน
Protocol
เปรียบเสมือน ภาษาในการสื่อสาร (รูปแบบข้อความ) ที่ทำให้เครื่องสองเครื่องสือสารกันได้ เข้าใจกันได้ถูกต้อง ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่จะสื่อสารกันได้ถูกต้องก็ต้องมีการติดตั้ง Protocol (ภาษา) ชนิดเดียวกันด้วย ปัจจุบันเราอาจจะเห็น Protocol ตัวอย่างเช่น TCP/IP , Novel Netware, Netbuei, MS Network เป็นต้น ถ้าเทียบเป็นคน เสมือน คนต่างชาติสองคนสองภาษา (คนไทย กับ คนจีน) จะสื่อสารกันได้ต้องมีภาษากลางระหว่างสองคนนั้น เช่น ใช้ภาษาอังกฤษทั้งคู่ จึงจะสื่อสารกันได้
TCP/IP Protocol
(Internet Protocol) เป็น Protocol ที่ชื่อว่า Internet ที่ใช้เป็นมาตรฐาน ในการสื่อสารในโลกของ internet และเป็น Protocol ที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้
TCP/IP Address
(Internet Protocol Address) เป็นหมายเลขที่เป็นตัวบ่งบอกถึงเครื่องที่อยู่ในระบบเพื่อให้การสื่อสาร ระหว่างเครื่องสามารถติดต่อถึงกันได้ถูกเครื่อง ในที่นี้เราอาจจะเปรียบได้ว่า ถ้าเครื่อง Computer คือบ้านหลังหนึ่งในโลกนี้ ดังนั้น IP Address ก็คือหมายเลขโทรศัพท์ ของบ้านหลังนั้นๆ ถ้าเราต้องการสื่อสารโดยโทรหรือส่งแฟ๊กซ์ไปบ้านที่เราต้องการ เราก็จำเป็นต้องรู้หมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกต้อง ด้วยเช่นกัน ถึงจะติดต่อสื่อสารไปได้ถูกบ้าน และสังเกตุว่า หมายเลขโทรศัพท์ จะต้องไม่ซ้ำกัน ดังนั้นเช่นเดียวกัน IP Address ของแต่ละเครื่องถ้าอยู่ใน Network วงเดียวกันก็จะต้องไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นๆในระบบ
Domain Name
โดเมนเนม เป็นชื่อของเครื่องในระบบ Internet ที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความลำบากในการจดจำ IP Address ของเครื่องใน Internet ที่มีจำนวนเครื่องมากมายเกินกว่าจะจำได้ง่ายๆเช่น www.Microsoft.com, www.MyCafeCup.com แต่มันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมี Domain Name กันทุกๆเครื่อง แล้วแต่ว่าเจ้าของคิดว่าเป็ประโยชน์หรือไม่เพราะมันเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้น

โดเมนเนม จะต้องทำการจดทะเบียน และเสียค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานกลางซึ่งดูแล เรื่องความเป็นเจ้าของชื่อโดเมนโดยเฉพาะ เช่น internic
ถ้าเทียบ IP Address เป็นเบอร์โทร, Domain Name เทียบได้กับชื่อคนเจ้าของเบอร์นั้น
DNS
Domain Name Server คือ Server ที่ทำหน้าที่แปลง Domain Name ให้กลับไปเป็น IP Address เพื่อให้เครื่องที่ร้องขอการแปลงชื่อนี้ติดต่อไปที่เครื่องปลายทางโดยใช้ IP Address ได้ถูกต้อง เช่นเครื่อง Web Server หลัก ของ Microsoft มี Domain Name ชื่อว่า www.microsoft.com มี IP Address สำหรับติดต่อคือ 207.46.197.101 , TCP/IP จึงเริ่มติดต่อไปที่ IP ที่ถูกต้องของ microsoft.com

สังเกตุว่า เครื่องใน TCP/IP Network จะติดต่อกันได้ด้วย IP Address อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช้ Domain Name ติดต่อ
ถ้าเทียบ IP Address เป็นเบอร์โทร, Domain Name เทียบได้กับชื่อคนเจ้าของเบอร์นั้น, Domain Name Server เสมือนศูนย์ค้นหาเบอร์โทรเช่น สมุดหน้าเหลือง ก่อนโทรหาใครคนหนึ่ง คุณจะต้องโทรด้วยหมายเลขโทรศัพท์ ถ้าคุณมีแค่ชื่อคุณต้องค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของคนนั้นจากสมุดหน้าเหลืองก่อน

DHCP
Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ให้การติดตั้งเครื่องในระบบ Network แบบที่ใช้ TCP/IP Protocol ง่ายขึ้น โดย ลดข้อจำกัดเล็กๆน้อยที่จำเป็นในการติดตั้งใช้งาน TCP/IP Protocol
โดย ระบบจะมี server ทำหน้าที่แจก IP / DNS / Gateway addresses ไปให้เครื่องที่ต่องการเชื่อมต่อเข้ามาใน LAN
DHCP ในร้าน Net ที่นิยมได้แก่อะไรบ้าง?
ในปัจจุบันได้มีอุปกรณ์ Hardware หรือ Software ที่ทำหน้าที่ แชร์ connection ที่เข้า internet (ADSL หรือ modem) ให้แก่เครื่องที่อยู่ใน LAN ซึ่งเราเรียกว่า "Router"( ถ้าเป็น Hard ware) และ "Internet Connection Sharing" (ถ้าเป็น Software)

ในบางรุ่นก็ได้ผนวก DHCP Server เข้าไปในตัวเลย

DHCP มีข้อดีอะไรบ้าง?
  • ช่วยให้การนำเครื่องใหม่ๆเข้ามาติดตั้งในระบบได้ง่ายขึ้น
  • DHCP จะทำหน้าที่จัดการ เรื่อง IP Address ให้ทุกๆเครื่องในระบบโดยอัตโนมัติ ผู้จัดงานระบบไม่ต้องจำว่า เครื่องใหน IP อะไร เพื่อจะได้ตั้ง IP ไม่ให้ซ้ำกัน.
  • DHCP Server ที่ฉลาดจะต้องจ่าย IP ให้แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกัน และต้องเที่ยงตรงตลอดเวลาที่ทำงาน.
แล้วข้อเสียของ DHCP ล่ะ?
โดยปกติถ้า DHCP Server ที่ถูกออกแบบให้ทำงานได้ดีและไม่มีปัญหาซ่อนอยู่ก็จะมีประโยชน์โดยสมบูรณ์แบบมากๆในตัวเอง แต่โดยเท่าที่เคยพบมา DHCP Server เกือบทั้งหมด ล้วนแต่จะมีปัญหาซ่อนอยู่ทั้งสิ้น โดยคุณผู้อ่านอาจจะ เคยพบปัญหากวนใจด้วยตนเองมาบ้าง แล้ว และคุณก็อาจจะสรุปไม่ได้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ลองดูสรุปดังนี้ก่อนครับ
  • บางครั้งบางเวลา IP Address ของ Windows เครื่องสองเครื่องหรือหลายเครื่อง ซ้ำกันซึ่งจะต้องแก้ปัญหานี้โดย Re-boot เครื่องใหม่ หรือ reset LAN Driver จนกว่าจะไม่ซ้ำกันเอง
  • เครื่อง Boot แล้วแต่ดูเหมือนว่าเครื่องต้องใช้เวลานานในบางจังหวะ (เพราะว่า เครื่องจะต้องพยายามควานหา DHCP Server ที่มีอยู่ในระบบก่อนเพื่อที่จะได้ IP Address มาใช้กับตัวเอง) บางครั้ง DHCP Server ยังไม่ได้เปิดอยู่
  • ในกรณีที่ DHCP Server ยังไม่พร้อมใช้งาน หรือยังไม่เปิด ก็จะทำให้เครื่องทุกเครื่องที่ Boot ใหม่ อาจจะ boot นานผิดปกติมากๆ และในที่สุดก็จะใช้ Network แบบ TCP/IP ไม่ได้เพราะ ตัวเองไม่มี IP Address ที่ถูกต้องในวง LAN
  • DHCP บางระบบ จะทำการแจก IP Address ให้เครื่องแบบสุ่ม ซึ่งทำให้เครื่องแต่ละเครื่อง มี IP Address เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่เรียงลำดับ ทำให้ตรวจสอบยาก
  • DHCP บางระบบ ทำให้เครื่องที่เปิดและทำงานอยู่เปลี่ยน IP Address ของตัวเองไปแม้ว่าเครื่องมี IP Address อยู่แล้วก็ตาม ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้นอย่างยิ่ง เพราะ program network ต่างๆที่ใช้งานอยู่อาจจะพบปัญหา ได้เช่นขณะกำลังทำ secure transaction บางอย่างอยู่ ถ้า IP เปลี่ยนไป ก็อาจจะขาดตอนได้
  • DHCP ดูเหมือนจะสร้างปัญหามากกว่าจะมีประโยชน์ ถ้า Network ของเราไม่ได้มีการ เพิ่ม/ลด เครื่องบ่อยมากๆ
สาเหตุ ภายนอกที่ สำคัญนอกเหนือจาก DHCP Server เอง คือ อุปกรณ์ Network , Driver, Software หรือ Hardware ที่เรานำมาใช้ นั้นมีหลากหลายมาก บางยี่ห้อบางรุ่นก็ทำงานได้ตรงตามมาตรฐาน บางรุ่นก็ไม่ 100% กับมาตรฐานของ DHCP
Static IP Address คืออะไร?
Static IP ก็คือการเซ็ต TCP/IP Address ของเครื่องด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัย DHCP server, ซึ่ง Static IP เป็นแบบตายตัว ถูกต้องตามมาตรฐาน และไม่มีผลเสียใดๆกับระบบที่ เดิมใช้ DHCP หากแต่จะมีแต่ข้อดีที่เราอาจมองข้ามไป
Static IP Address มีข้อดีกว่า DHCP อะไรบ้าง?
  • Static IP ทำให้ Windows/PC Boot เร็วขึ้น เพราะเป็นอิสระจาก DHCP Server , ไม่ต้องค้นหา DHCP Server ในระบบเพื่อขอรับ IP Address
  • Static IP ทำให้ Program ต่างๆ ที่ใช้ TCP/IP ทำงานได้แม่นยำ
  • Static IP ทำให้เครื่องมีเสถียรภาพทางด้าน Network มากขึ้น
  • สามารถตรวจสอบหรือค้นหาเครื่องได้ง่าย เพราะ IP Address ไม่ได้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
  • เครื่องสามารถทำงานได้เป็นปกติแม้ว่า DHCP Server ไม่ได้เปิดอยู่ เพราะเป็นอิสระจาก DHCP Server
  • เมื่อเกิดปัญหา ก็จะหาสาเหตุได้ง่ายขึ้น เพราะ แต่ละเครื่องเป็นอิสระต่อกัน ไม่ต้องมี DHCP Server จัดการให้
  • การทำ secure transaction online บางอย่างไปขาดตอน เพราะ IP อาจเปลี่ยนไป
Static IP Address มีข้อเสีย?
  • ไม่มี เพราะเป็นรูปแบบพื้นฐานตามมาตรฐานและ แนวความคิดของ TCP/IP Protocol อยู่แล้ว

จะ เปลี่ยน ระบบให้ไปเป็นแบบ Static IP Address ได้อย่างไร?

  • เรามี Document วิธีการเปลี่ยนระบบของคุณให้เป็น Static IP อย่างง่ายๆที่นี่ (ตัวอย่างเฉพาะ Windows 98, แต่จะคล้ายกันกับทุก Version ของ Windows)
  • http://www.mycafecup.com/staticip.zip